ประกันสังคมทำไม

ประกันสังคมทำไม

                        อโรคยา ปรมา ลาภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คิดว่าทุกคนบนโลกนี้ คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดี มีค่ากว่าการมีเงินทองร้อยล้านด้วยซ้้าไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินทองมากองจนท่วมตัว ก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีให้กลับคืนมาได้ ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้ก้าหนดพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจ้าวันของเรา เป็นสิ่งที่จะแสดงผลออกมาเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง จะมีสักกี่คนบนโลกนี้ ที่ไม่เคยเจ็บป่วยเลย คิดว่าส่วนใหญ่เคยเจ็บป่วยทั้งนั้น มากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ช่วงวัยของทุกคน

                        รัฐบาลทุกๆ ประเทศได้มีการดูแลระบบสุขภาพของพลเมืองของตนเองในหลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วจะปูพื้นฐานเรื่องระบบสุขภาพให้กับพลเมือง ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว โดยเริ่มที่การเสริมสร้างการป้องกันโรค ประเทศไทยของเราก็ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้พอสมควร โดยเด็กๆ ทุกคนที่เกิดมาต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ มากมาย เป็นการให้บริการที่ฟรี เป็นการปูพื้นฐานให้กับพลเมืองของประเทศอีกรูปแบบหนึ่ง แต่การที่รัฐบาลจะรับภาระในเรื่องสวัสดิการสังคมฟรีทั้งหมดก็คงจะเป็นภาระ ที่หนักพอสมควร เพราะรัฐบาลจะใช้แต่เพียงเงินภาษีอย่างเดียวคงไม่เพียงพอกับจ้านวนประชากรของ ประเทศ จึงได้มีระบบร่วมจ่าย ที่เรียกว่าระบบประกันสังคมเกิดขึ้นในเกือบทุกๆ ประเทศทั่วโลก   ซึ่งระบบประกันสังคมก็เป็นหนึ่งในสถาบันส้าคัญทางเศรษฐกิจ ที่ทางการประเทศต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือหลักในการให้สวัสดิการสังคม ช่วยบรรเทาผลกระทบจากความไม่แน่นอนของชีวิตในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บ ป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย การว่างงาน ชราภาพ รวมถึงการที่มีรายได้ไม่พอเพียงส้าหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ โดยรัฐบาลจะท้าหน้าที่เหมือนกับบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ที่น้าความเสี่ยงของ ทุกคนมาบริหารจัดการร่วมกัน โดยเงินสมทบที่นายจ้าง และลูกจ้างจ่ายให้ประกันสังคมเปรียบเสมือนเบี้ยประกันที่จ่ายไปเพื่อให้ได้ มาซึ่งการคุ้มกันของรัฐส้าหรับ ความไม่แน่นอนต่างๆ เหล่านั้น

                         ส้าหรับระบบประกันสังคมของประเทศไทยนั้น ได้มีการเรียกร้องให้จัดตั้งกองทุนประกันสังคมโดยมีการผลักดันพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ ขึ้นมา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๓ เพื่อเป็นหลักประกันในการด้ารงชีวิตให้กับลูกจ้างหรือผู้ประกันตนตั้งแต่เกิด จนตาย การประกันสังคมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ยึดหลักการพึ่งตนเอง และการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันของผู้ประกันตน โดยใช้ระบบของการเฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุขซึ่งกันและกันระหว่างมวลสมาชิก ไม่ต้องเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องรับดูแลเองทั้งหมดในทุกๆ ด้าน ประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา

โดยจัดเก็บเงินสมทบในอัตราร้อยละ ๕ ของฐานค่าจ้างต่้าสุดไม่น้อยกว่า ๑,๖๕๐ บาท และสูงสุดไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท ต่อเดือน

โดยผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง ๗ กรณี เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ดังนี้

๑.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ ๓ เดือน ภายใน ๑๕ เดือนสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลได้ ฟรี

๒.กรณีคลอดบุตรผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ ๗ เดือนภายใน ๑๕ เดือน จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย ๑๓,๐๐๐ บาท กรณีผู้ประกันตนเป็นผู้หญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์ การหยุดงานเพื่อการคลอด บุตรในอัตราร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา ๙๐ วัน

๓.กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ ๓ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน เข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐฟรี ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายให้เท่าที่จ่ายจริงตามความจ้าเป็น ประเภทผู้ป่วยใน จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาล โดยค้านวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์ก้าหนด กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนประเภทผู้ป่วยนอกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ประเภทผู้ป่วยในจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท เงินชดเชยการขาดรายได้ ๕๐% ของค่าจ้างรายเดือนตลอดชีวิต

๔.กรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ ๑ เดือนภายใน ๖ เดือน หากเสียชีวิต จะได้รับค่าท้าศพเหมาจ่าย ๔๐,๐๐๐ บาท

- เงินสงเคราะห์กรณีตาย กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง ๑๐ ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเฉลี่ยรายเดือนคูณ ๓

- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเฉลี่ยรายเดือน คูณ ๑๐

๕.กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนที่มีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน ๖ ปีบริบูรณ์ เบิกค่าสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ ๓๕๐ บาท ต่อบุตรหนึ่งคนคราวละไม่เกิน ๒ คน

๖.กรณีชราภาพ -บ้านาญชราภาพ หากผู้ประกันตน อายุครบ ๕๕ ปีบริบูรณ์ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จ่ายเงินสมทบครบ ๑๘๐ เดือน (๑๕ปี) จะได้รับเงินบ้านาญชราภาพในอัตราร้อยละ ๒๐ ของค่าจ้างเฉลี่ย ๖๐ เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

-บ้าเหน็จชราภาพหากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ ๑๘๐ เดือน หรือผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหรือเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินบ้าเหน็จชราภาพ ดังนี้

-จ่ายเงินสมทบไม่ครบ ๑๒ เดือน จะได้รับเงินบ้าเหน็จชราภาพเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายร้อยละ ๓ ต่อเดือนเท่านั้น

-จ่ายเงินสมทบเกิน ๑๒ เดือน จะได้รับส่วนของผู้ประกันตน ส่วนของนายจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนประจ้าปีที่กองทุนประกันสังคมให้เช่นเดียว กับเงินดอกเบี้ยธนาคาร

๗.กรณีว่างงานผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ ๖ เดือนภายใน ๑๕ เดือน และถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ต้องไปขึ้นทะเบียนว่างงานที่ส้านักงานจัดหางานของรัฐภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ออกจากงาน หากผู้ประกันตนยังไม่ได้งานท้าจะได้รับประโยชน์ทดแทน การขาดรายได้ ดังนี้

- กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้าง ไม่เกิน ๑๘๐ วัน ภายใน ๑ ปี

- กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามก้าหนดระยะเวลา จะได้รับร้อยละ ๓๐ ของค่าจ้าง ไม่เกิน ๙๐ วัน ตลอดระยะเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมาส้านักงานประกันสังคมได้มุ่งมั่น พัฒนาองค์กร และปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อผู้ประกันตนมาโดยตลอด เพื่อให้สมกับวิสัยทัศน์ของส้านักงานประกันสังคมที่ว่า "ก้าวสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ที่มุ่งสร้างหลักประกันสังคมของประเทศอย่างสมดุล มั่นคง ยั่งยืน และมีธรรมาภิบาล" นั่นเอง

 783
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์