ความรู้ที่ควรได้รับสำหรับ...ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39)

ความรู้ที่ควรได้รับสำหรับ...ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39)

                 สำนักงานประกันสังคมได้ให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่ทางานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยสถานประกอบการจะต้องทาการขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบ และสานักงานประกันสังคม จะให้การคุ้มครองดูแลรวมถึงจ่ายประโยชน์ทดแทนตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้ประกันตนใน 7 กรณี ได้แก่  

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
ในกรณีที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ในระยะเวลาว่างเว้นจากการทางานในช่วง 6 เดือนนั้น หากผู้ประกันตนที่มีความประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อ สามารถยื่นสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ โดยผู้ประกันตน จะต้องส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากผู้ประกันตนขาดส่งเงินสบทบติดต่อกันเกิน 3 เดือน ก็จะถูกตัดสิทธิการเป็นผู้ประกันตน
ทั้งนี้ เหตุที่ทาให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพ คือ

1.ตาย

2.กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

3.ลาออก

4.ขาดส่งเงินสมทบ

3 เดือนติดต่อกัน

5.ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน


สาหรับการส่งเงินสมทบในส่วนของ มาตรา 39 นั้น สานักงานประกันสังคมได้กาหนดให้ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบในอัตราเท่ากันทุกเดือนคือ เดือนละ 432 บาท โดยสามารถส่งเงินสมทบได้ 4 วิธี

คือ 1.จ่ายที่สานักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา

2.จ่ายเงินทางธนาณัติ

3. ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) หรือธนาคารนครหลวงไทย จากัด (มหาชน)

4.เปิดบัญชีประเภทออมทรัพย์และให้ทางธนาคารหักจากบัญชี ได้แก่ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จากัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จากัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จากัด (มหาชน) ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะต้องมีเงินให้เพียงพอ เพื่อหักเป็นเงินสมทบ จานวน 432 บาท และค่าธรรมเนียม 10 บาท ภายวันที่ 1 - 15 ของเดือนถัดไป โดยธนาคารจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้ประกันตนทางไปรษณีย์ หากผู้ประกันตนนาส่งเงินสมทบดังกล่าวเกินกาหนดระยะเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือน


กรณีการให้บริการนาส่งเงินสมทบ นอกจากผู้ประกันตนสามารถนาส่งเงินสมทบผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารได้แล้วนั้น สานักงานประกันสังคมยัง เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกันตน ในการนาส่งเงินสมทบ ผ่านทางเคาน์เตอร์เชอร์วิส ซึ่งครอบคลุมทุกพื้นที่และภูมิภาคทั่วประเทศในร้าน เซเว่นอีเลฟเว่น โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ยื่นบัตรประจาตัวประชาชนที่เคาน์เตอร์


ชำระเงินและเสียค่าธรรมเนียมการรับชาระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อ 1 รายการ และสามารถ จ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ 1 เดือน ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป นี่เป็นเพียงมาตรการหนึ่ง ที่ทางกระทรวงแรงงาน โดยสานักงานประกันสังคมได้อานวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) ในอนาคตเราสัญญาว่าจะมี โครงการดีๆ ออกมาเพื่อให้ผู้ประกันตน ได้รับการบริการอย่างดีที่สุด
-------------------------------------------------------

 5432
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์