ในแต่ละปีนั้น ผู้ที่มีเงินได้มีหน้าที่อย่างหนึ่ง คือการเสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องยื่นแบบภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี แต่ถ้าเรารู้จักวางแผนภาษีให้ดี เราก็สามารถนำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอยู่หลายช่องทางด้วยกันที่อาจช่วยให้คุณไม่ต้องเสียภาษี แถมยังได้เงินคืนอีกด้วย
1. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
พนักงานบริษัทหรือแรงงานในระบบ จะถูกหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งใน 1 ปีจะสามารถนำยอดที่สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูง สุด 9,000 บาทต่อปี 2. Provident Fund หากบริษัทของคุณมีการหักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุก ๆ เดือน นอกจากผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะได้รับแล้ว เงินสะสมดังกล่าวยังได้รับการลดหย่อนภาษีปีละ 500,000 บาทอีกด้วย
2. เบี้ยประกันชีวิต
เงินที่คุณส่งค่าเบี้ยประกันชีวิตในแต่ละปี ตามกฎหมายแล้วสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ถึงปีละ 100,000 บาท สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หลายคนอาจจะกลัวคนขายประกัน แต่ตอนนี้ทราบข้อดีของประกันชีวิตเพิ่มจากการคุ้มครองชีวิตและสุขภาพแล้ว ลองมองประกันด้วยมุมมองใหม่ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ
3. RMF
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นการซื้อหน่วยลงทุนระยะยาวสำหรับผู้ที่ต้องการเก็บเงินออมไว้ใช้ในยาม เกษียณ ซึ่งการลงทุนวิธีนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินที่ใช้ในการซื้อหน่วยลงทุนประเภทนี้สามารถนำมาหักลดหย่อยภาษีได้สูงถึง 500,000 บาทต่อปี
4. LTF
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นการซื้อหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนสามารถนำเงินที่ใช้ในการซื้อหน่วยลงทุนมา ลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ในอัตราสูงถึง 500,000 บาทต่อปี
5. เงินกู้ยืมในการซื้อที่อยู่อาศัย
ปัจจุบันรัฐบาลประกาศให้ผู้ที่กู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสามารถหักลด หย่อนค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 400,000 บาท โดยเป็นเงินต้น ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี และดอกเบี้ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
6. การซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
เงินส่วนต่างที่คุณได้จากการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ เป็นเงินที่ได้รับการยกเว้นทางภาษี ดังนั้นจึงมีหลายคนที่หันมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แทนการฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นต้องเสียภาษีตามกฎหมาย อย่างไรก็ดีการลงทุนนั้นย่อมมีความเสียงสูงกว่าการออมทรัพย์ด้วยการฝาก ธนาคาร หากคุณศึกษาและวางแผนให้ดีก็ย่อมได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ เรียกว่า high risk, high return
7. เงินบริจาค
ใบอนุโมทนาบัตรจากการบริจาคเงินให้วัดสามารถนำมาลดหย่อนได้เต็มจำนวน แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ของคุณหลังหักลดหย่อนภาษีตามกรณีต่าง ๆ แล้ว เห็นไหมคะว่ามีช่องทางมากมายที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตาม กฎหมาย เพียงคุณวางแผนให้ดี เลือกลงทุนหรือใช้จ่ายในเงื่อนไขที่ทำให้คุณสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนั้นมา ใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ และยังช่วยให้คุณได้เงินคืนกลับมาใช้จ่ายอย่างอื่นได้อีกด้วย