เป็นที่คับข้องใจของคู่สามีภรรยามายาวนาน เกี่ยวกับเกณฑ์การเสียภาษีที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นของสามี โดยต้องนำเงินได้ที่เป็นชื่อของภรรยามารวมคำนวณเป็นเงินได้ของสามี ทำให้ฐานเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษีสูงขึ้น คนที่แต่งงานจดทะเบียนสมรสจึงต้องเสียภาษีสูงขึ้น ถือเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย

ในที่สุดเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า เกณฑ์ดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิสามีและภรรยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่าไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง นับเป็นข่าวดีสำหรับภรรยาที่มีเงินได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ที่ตั้งแต่ปีภาษี 2555 เป็นต้นไป มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี

กรณีสามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษี ซึ่งสรุปได้ดังนี้

การหักลดหย่อน สามีหรือภรรยามีรายได้คนเดียว มีรายได้ทั้งสองคน
ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท หักของตนเอง 30,000 + ของคู่สมรส 30,000 หักของตนเองคนละ 30,000 บาท
บุตรคนละ 15,000 และ การศึกษาบุตรคนละ 2,000 บาท หักได้ 17,000 บาท ถ้าเป็นสามีภรรยาตลอดปีภาษี หักได้คนละ 17,000 บาท ถ้าเป็นสามีภรรยาไม่เต็มปีภาษี หักได้คนละ 8,500 บาท
เบี้ยประกันชีวิต (ส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกินหักได้ หลังคำนวนภาษีแล้วแต่ไม่เกิน 90,000 บาท) ส่วนแรกหักของตนเองตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 + ของคู่สมรสตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ถ้าเป็นสามีภรรยาไม่เต็มปีภาษีหักเฉพาะของตนเอง หักของตนเองตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท) หักเฉพาะของผู้มีเงินได้ หักของตนเอง
ดอกเบี้ยกู้ยืม (จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท) ถ้ากู้ยืมคนเดียวให้หักเฉพาะของผู้มีเงินได้ ถ้ากู้ยืมร่วมกัน ให้หักได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ถ้ากู้ยืมแยกกันให้หักของตนเอง ถ้ากู้ยืมร่วมกันให้หักได้คนละครึ่ง
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักได้ตามที่จ่ายจริง หักของตนเองตามที่จ่ายจริง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท บิดามารดาของตน บิดา 30,000 + มารดา 30,000 บิดามารดาของคู่สมรส บิดา 30,000 + มารดา 30,000 หักเฉพาะของบิดามารดาของตน บิดา 30,000 + มารดา 30,000
ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือ ผู้ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท หักได้ 60,000 บาท ถ้าเลี้ยงดูบุตรที่พิการหรือทุพพลภาพ หักได้อีก 60,000 บาท ใครมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนนั้นมีสิทธิ หักลดหย่อน

ที่มา : http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/regulation200955.pdf