กฎหมายเกี่ยวกับ Internet

กฎหมายเกี่ยวกับ Internet

ฎหมายเกี่ยวกับ Internet

 

 

                ปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เนตมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น  ดังนั้นการใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เนตจึงต้องมีการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยแก่ชีวิตและสังคม  ซึ่งมีกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เนต  ได้แก่

 

            กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

                    กล่าวถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  โดยข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างเชื่อถือได้

 

            กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์

                    ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องสามารถระบุตัวผู้ลงลายมือชื่อได้  มีผู้ถือใบรับรอง  ผู้ใช้ใบรับรอง  และบุคคลที่เป็นคนกลางในการออกใบรับรอง

 

            กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

                    เป็นการคุ้มครองเพื่อมิให้เกิดการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียหายจากการนำความรู้ทางคอมพิวเตอร์ไปใช้ในทางที่ผิด  จำแนกเป็น   ขโมยข้อมูลมาเปลี่ยนแปลง  ทำลายข้อมูล  ทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย การเจาะรหัสผ่านเข้าไปในระบบ  การเผยแพร่ภาพลามกอานาจาร  ขโมยโอนเงิน  คัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในทางที่ผิด  การข่มขู่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ สร้างสิ่งรบกวนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

            กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

                    ต้องมีผู้รับผิดชอบหากเกิดการโอนเงินผิดหรือพบข้อผิดพลาด

 

            กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

                    กฎหมายคุ้มครองการเผยแพร่เอกสารข้อมูลบุคคล

 

            กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78

                    เป็นกฎหมายพัฒนาโครงสร้างสารสนเทศอย่างทั่วถึง

 

            กฎหมายคุ้มครองสิทธิ์

                    ได้แก่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  ลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร  และ เครื่องหมายการค้า

ความผิดสำหรับนักล้วง

                พวกที่ชอบดักข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท 

ความผิดสำหรับพวกปล่อยไวรัส

1.พวก ทำลายข้อมูล หรือไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคนอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลายตรงๆ หรือพวกพนักงานที่ทำงานอยู่แล้วกำลังจะออก ไปทำลายข้อมูลเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน  5ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท 

2.ถ้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ จะมีข้อมูลหรือไม่ก็ตาม มีโทษเท่ากัน

“เมื่อ มีกฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตโดยสุจริต คงไม่ต้องกังวล คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะไปกลั่นแกล้งใคร”

3.ถ้า การทำลายข้อมูลคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท

4.และถ้ากระทบถึงความมั่นคงของประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3-15 ปี 

5.แต่ถ้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10-20 ปี

ความผิดของพวกชอบก่อกวนหรืชอบแกล้งคนอื่น

1.พวก ที่ชอบส่งเมลก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ป๊อปอัพ หรือพวกส่งเมลขยะโดยที่เขาไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 1000,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ

2.พวกที่ชอบส่งเมล เป็นข้อมูลปลอมข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น หรือพวกเจ้ากรมข่าวลือที่ชอบปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงพวกผสมโรงที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเสมอกันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 100,000 บาท

3.พวกที่ ชอบใช้ศิลปะเฉพาะตัว ตัดต่อภาพของคนอื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเข้าเสียหาย อับอาย ต้องโทษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600, 000 บาท แต่กฎหมายยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำด้วยความสุจริต จะไม่เป็นความผิด ซึ่งผมยังนึกไม่ออกครับว่า ถ้าตัดต่อภาพเข้าแล้ว จะสุจริตได้อย่างไร คงเป็นกรณีตัดต่อให้ดูสวยกว่าตัวจริง ซึ่งก็รู้จะทำไปทำไม

ความผิดของผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ

ผู้ ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ มีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้น ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ จะต้องรับโทษเอง แต่เบาหน่อยคือปรับอย่างเดียวไม่เกิน 500,000 บาท

การกระทำความผิด ตามกฎหมายนี้ แม้จะทำนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าวเป็นผู้ทำ ถ้าเกิดวามเสียหายไม่ว่าเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย

ปัญหาที่ตามมาคือ การกระทำความผิด ในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตอย่างนี้ จะจับได้อย่างไร เรื่องนี้ขอเตือนพวกลองดีทั้งหลายว่า อย่าประมาทเพราะกฎหมายให้อำนาจ เรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมถึงมีอำนาจที่จะ รวมถึงอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ ก็อปปี้ ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด 

แต่การใช้อำนาจ เจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่มีความผิดตามกกหมายนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อน จะทำโดยพลการไม่ได้

หากเจ้าหน้าที่ เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจ หน้าที่ไปเจาะข้อมูลเข้ามาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่จะต้องจำคุก ด้วยอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน  3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

และแม้ไม่ได้ตั้งใจเปิดเผย แต่ด้วยความประมาท ทำให้ข้อหลุดเข้าสู่ อินเตอร์เน็ต ก็ต้องรับโทษด้วย คือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

เมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว  น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่เคยใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยความสุจริต คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะกลั่นแกล้งหรือใส่ร้าย ป้ายสีใคร เพียงแต่จะรู้เรื่องของชาวบ้านน้อยลง เพราะทุกคนต้องทำตามกกหมาย e-mail ในระบบจะหายไปกว่าครึ่ง 

 เพราะทุกวันนี้ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-mail ที่ส่งกัน ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน แต่เป็นเรื่องชาวบ้านเป็นภาพวาวหวิวของน้องๆ ทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่เข้าข่ายผิดกฎหมายฉบับนี้ทั้งนั้น

 9930
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์