หนังสือเล่มนี้แปลมาจากภาษาญี่ปุ่นโดยสำนักพิมพ์ ส.ส.ท. เป็นหนังสือระดับเบสเซลเลอร์ เฉพาะที่ญี่ปุ่นก็เกิน 1 ล้านเล่มเข้าไปแล้ว (ตอนนั้น)
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย “เคนนิชิโร โมงิ” ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองและระบบประสาทชื่อดังของญี่ปุ่น
…เสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้คือการอธิบายกลไกการทำงานและคุณสมบัติของ “สมอง” ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจฟังดูยาก ให้กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย และผู้เขียนยังสอนเทคนิควิธีใช้สมองในการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ที่ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาตนเองได้
เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
หนังสือเล่มนี้จะสอนวิธีดึงศักยภาพสมองออกมาใช้ ทำให้เราใช้สมองได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขี้น
อ.โมงิบอกว่า ….
“สมองของคนเราจะแข็งแกร่งขึ้นทุกครั้ง ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง”
เอ๊ะ! ยังไง ?
มีเหตุผลอธิบายนะ
เคยใช้ความพยายามทำอะไรบางอย่าง อย่างหนัก แล้วสุดท้ายมันก็สำเร็จกันมั้ยคะ
ดีใจจนอยากจะตะโกนดัง ๆ กันเลยใช่มั้ยละ
“กูทำได้แล้วโว้ย !!!”
“กูทำสำเร็จแล้ว !!!”
“กูชนะแล้ว !!!”
…อ.โมงิเล่าว่า ช่วงเวลาดังกล่าวสมองของคนเราจะหลั่ง “สารโดพามีน” ออกมา
สารโดพามีนเป็นสารที่ส่งผ่านประบบประสาทของคนเรา เมื่อเกิดการหลั่งจะทำให้คนเราเกิดรู้สึกความพอใจและมีความสุข
และยิ่งสารนี้หลั่งมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้คนคนนั้นเกิดความพอใจและมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วย
สมองของคนเราจะจำได้ว่าตอนที่หลั่งสารโดพามีนออกมานั้นเราได้ทำกิจกรรมอะไรลงไป
แล้วก็จะพยายามทำกิจกรรมนั้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดความรู้สึกดีเช่นนั้นอีก
และเซลล์ประสาทในสมองจะมีการจัดรูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างเซล์ประสาทด้วยกันที่เรียกว่า การซิแนปส์ใหม่ เพื่อให้การหลั่งสารโดพามีนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำให้การทำกิจกรรมที่ทำให้สมองมีความสุขนั้นกลายเป็นนิสัย และเมื่อได้ทำกิจกรรมนั้นซ้ำ ๆ เป็นครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ครั้งที่ ….
ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่า “กลไกการเรียนรู้” นั่นเอง
…และการเรียนรู้แบบพยายามลองผิดลองถูกจะทำให้สมองยิ่งสร้างซิแนปส์บ่อยครั้งจนมั่นคง และในที่สุดเราจะสามารถทำกิจกรรมนั้นได้ดีมากขึ้น ซึ่งพัฒนาการลักษณะนี้เรียกว่า “การเรียนรู้แบบเสริมสร้างความแข็งแกร่ง”
…สมองคนเราจะแข็งแกร่งขึ้นเมื่อวงจรการหลั่งสารโดพามีนและการเรียนรู้ทำงานอย่างได้ผล
ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอายุ ไม่ว่าจะอายุกี่ปี สมองของคนเราก็จะทำงานในลักษณะนี้เหมือนกัน
…อ.โมงิยังให้ความเห็นว่าในกระบวนการของการศึกษานั้น การชมเชยเด็กนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะสมองคนเราจะมีความคาดหวังในเชิงบวกและเมื่อได้รับคำชมก็จะรู้สึกมีความสุข ก็ยิ่งกระตุ้นให้สมองเกิดความรู้สึกอยากเรียน
แต่การดุหรือบังคับเด็กนั้นเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะสมองของคนเราจะไม่สามารถมีความสุขจากการถูกบังคับได้เลย การดุเด็กนั้นนอกจากจะไม่ทำให้เด็กมีความอยากเรียนขึ้นมาได้แล้ว ยังทำให้สมองของเด็กหมดความอยากเรียนไปอีกด้วย
…ดังนั้นครูหรือผู้ปกครองควรหัดชมเด็กเวลาที่เขาตั้งใจเรียนหรือทำบางอย่างสำเร็จกันให้มากนะครับ
…การทำซ้ำในสิ่งที่ตัวเองทำได้อยู่แล้ว ไม่ทำให้สมองมีความสุข
สารโดพามีนในสมองจะไม่ถูกปล่อยออกมาถ้ารู้ว่าสิ่งที่ทำสำเร็จนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้อยู่แล้ว”
…แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น และทำลงไปโดยที่ไม่รู้ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่
แต่เมื่อเราพยายามทำจนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด สารโดพามีนจะถูกหลั่งออกมามาก และยิ่งทำให้สมองมีความสุขมากขึ้น
…ดังนั้นถ้าอยากให้สมองพัฒนาแข็งแกร่งแกร่งขึ้นต้องฝึกทำสิ่งที่ยาก ๆ ไว้นะคะ ยิ่งลำบากมากเท่าไหร่ ยิ่งมีอุปสรรคมากเท่าไหร่ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น เช่น ฝึกทำโจทย์ยาก ๆ แก้ไขปัญหายาก ๆ หรือแม้กระทั่งการฝึกทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
…อ.โมงิยังบอกอีกด้วยว่า สมองของคนเรามีกลไกที่เมื่อใส่ภาระที่ทำให้รู้สึกว่ายากลำบากเข้าไป เมื่อทำสำเร็จจะมีความสุขมาก
แล้วก็อยากจะทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกมีความสุขอย่างนั้นอีก นั่นคือสมองของคนเรามีลักษณะที่ต้องการเสพความสุขอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีข้อยกเว้น
…รู้กันแล้วก็ รีบฝึกทำสมองให้มีความสุขกันเสียนะคะ
คุณสามารถเก่งขึ้นได้ ฉลาดขึ้นได้มากกว่าที่เป็นอยู่ค่ะ
ฝึกเผชิญกับความยาก ความลำบากจนติดเป็นนิสัย เพราะสิ่งเหล่านี้คือของชอบของสมองค่ะ
…ทำสิ่งที่ง่ายได้นะ แต่อย่าทำบ่อยจนเคยตัว
เพราะความง่ายนอกจากจะทำให้สมองไม่ได้มีความสุขแล้ว
“ความง่าย” ยังไม่เคยทำให้ใครเก่งขึ้นเลยจ้ะ
ขอบคุณ: หนังสือความลับของสมอง เรียนอย่างไรให้สมองมีความสุข โดย Kenichiro Mogi แปลโดย ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์
ขอขอบคุณบทความจาก : http://www.yimtamphan.com