ลี กวน ยู : กรณีศึกษาความสำเร็จของสิงคโปร์

ลี กวน ยู : กรณีศึกษาความสำเร็จของสิงคโปร์

     ลี   กวน  ยู เป็นรัฐบุรุษและนายกรัฐมนตรีคนแรก ของสิงคโปร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2502-2533 สร้างประวัติศาสตร์ให้นายลี กวน ยู คือนายกรัฐมนตรีซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลก  และเป็นผู้นำพาเศรษฐกิจของสิงคโปร์กลับมาสู่ยุครุ่งเรื่องและผงาดในสายตาโลกอีกครั้ง นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2508

            อย่างที่รู้กันดีว่า สิงคโปร์ เป็นเกาะขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 718.3 ตร.กม. (เล็กกว่ากรุงเทพฯ 2 เท่า กรุงเทพมีพื้นที่ 1,569 ตร.กม)  ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แม้กระทั่งน้ำจืด จำนวนประชากรและแรงงานน้อย แต่ขณะเดียวกันสิงคโปร์ก็มีข้อได้เปรียบทางทำเลที่ตั้งซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งทางยุทธศาสตร์ จึงดำเนินนโยบาย 3 ประการ คือ

  1. สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ท่าเรือ และระบบคมนาคมขนส่งสู่ท่าเรือ เพื่อสนับสนุนข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ที่มีท่าเรือน้ำลึก
  2. ดำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง และสร้างแรงจูงใจให้เอกชน โดยลดภาษี ลดขั้นตอนความยุ่งยากของกฎระเบียบการค้า
  3. เพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่รัฐให้เข้าใจถึงยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจของเอกชน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐ กับเอกชน

 

    ลี กวน ยู ให้ความสำคัญกับระบบการศึกษาซึ่งในขณะนั้นมีปัญหามากมายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศเช่น มีโรงเรียนหลายรูปแบบหลายเชื้อชาติ เน้นจำมากกว่าวิเคราะห์ จึงมีการปรับมาเป็นแบบแพ้คัดออก  นักเรียนต้องผ่านการสอบอย่างเข้มงวดเนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างมาก และนักเรียนทุกคนต้องเรียนสองภาษา คือภาษาพ่อแม่ และภาษาอังกฤษ โดยให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษมากที่สุดเพื่อจะได้สื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเต็มที่

     การวางผังเมืองอย่างชาญฉลาด โดยใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่ามากที่สุด วางเครือข่ายคมนาคม โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ถนนสะอาด สวยงาม

     โดย ลี กวน ยู ได้เคยให้สัมภาษณ์ในนิวยอร์คไทมส์ เมื่อ พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับความสำเร็จของสิงคโปร์ว่า “ถ้าเราทำตามอย่างเพื่อนบ้านเราตายแน่ เราไม่มีอะไรเหมือนเขาซักอย่างเดียว หากเราจะทำอะไรซักอย่างเราจึงต้องคิดต่าง และคิดให้ดีกว่าเพื่อนบ้าน เราจะต้องไม่โกงกิน เราจะต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าไม่สำเร็จครั้งแรก เราต้องพยายามต่อ แต่ถ้ามันไม่ได้จริงๆ เราก็ต้องพร้อมเลิก และคิดใหม่ ทำใหม่อย่าไปยึดติดกับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง”

 4299
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์