“ตอนวัยรุ่น... ฉันมีเวลา มีแรง แต่ไม่มีงาน ไม่มีเงิน”
“ตอนวัยทำงาน... ฉันมีแรง มีงาน แต่ไม่มีเวลา ไม่มีเงิน(อยู่ดี)”
“ตอนเกษียณ... ฉันมีเวลา มีเงิน ไม่ต้องทำงาน แต่ไม่มีแรง”
พออ่านจบ บางคนอาจจะอมยิ้ม ขำกับมุขอันเจ็บจี๊ด แต่บางคนอาจจะจิตตกมากไปกว่าเดิม เพราะดูเหมือนว่าไม่ว่าช่วงชีวิตตอนไหน เราก็ไม่สามารถหาความสุขได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะขาดอะไรอยู่ตลอดเวลา แต่นั่นเป็นเพราะว่าคุณวาดภาพความสุขว่าเกิดจาก ๔ ปัจจัย นั่นคือ มีเวลา มีแรง มีเงิน และไม่ต้องทำงาน
แต่คุณอาจจะลืมไปว่าถ้าเรารักในงานที่ทำ เราจะทำงานนั้นได้ดี เราก็มีความสุขขึ้นได้ และผลตอบแทนจากการทำงานที่เรารักก็มักจะสูงขึ้นตามกันไป แต่ถึงเงินมันจะไม่เพิ่มขึ้นมันก็ไม่เป็นอะไรมากมาย เพราะเราได้ทำในสิ่งที่เรารักอยู่แล้ว ความสุขมันอยู่ตรงหน้าแล้วจะไปหาสิ่งอื่นเพื่ออะไร และถ้าเรายังไม่ได้รักในสิ่งที่เราทำ หรือ ยังไม่ได้ทำในสิ่งที่เรารักล่ะ ต้องทำอย่างไร ? ครูบาอาจารย์ได้สอนเราไว้แล้วว่า เพียงแค่เรามีสติรู้กาย รู้ใจ ไปตลอดในชีวิตประจำวัน แค่นั้น จะให้เจอปัญหาอะไร ความสุขก็โชยมาหาเราได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องรอด้วยซ้ำไป เห็นไหมล่ะว่าจริงๆ แล้วความสุขมันเกิดขึ้นไม่ใช่พราะเงินเลยด้วยซ้ำ
แต่ถ้าถามว่าเมื่อทำงานแล้วได้เงินมา เราจะใช้เงินนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ? พระพุทธเจ้า ท่านทรงตรัสไว้ว่าา
“ทรัพย์สินที่พึงได้ จากการประกอบกิจการงานต่างๆ นั้น
ควรแบ่งออกเป็น 4 กองเท่าๆ กัน
กองแรก เก็บสะสมไว้ใช้ยามขัดสน
กองสอง ใช้จ่ายเพื่อทดแทนผู้มีพระคุณ
กองสาม ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว
กองสี่ ใช้เพื่อสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่สังคม”
เงิน ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว เป็นเพียงแค่ ๑ ใน ๔ วัตถุประสงค์หลักของเงินเท่านั้น แต่กลับกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่มองว่าความสำคัญของเงินก็คือ เพื่อความสุขส่วนตัว... ลองเปลี่ยนความคิดกันดูไหมคะ
แบ่งปันโดย: HRMi Team