ยื่นแบบภาษีเงินครึ่งปีหรือยัง?

ยื่นแบบภาษีเงินครึ่งปีหรือยัง?

​วัน​​ที่​ 30 ​กันยายน​ ​นี้​แล้ว​ที่​เป็น​วัน​สุด​ท้าย​ของ​กำหนด​เวลา​การ​ยื่น​แบบ​ ภ.ง.ด.94 ​เพื่อ​เสีย​ภาษี​เงิน​ได้​บุคคล​ธรรม​ดา​ครึ่ง​ปี​สำหรับ​เงิน​ได้​พึง​ประเมิน​ตาม​มาตรา​ 40 (5) (6) (7) ​หรือ​ (8) ​แห่ง​ประมวล​รัษฎากร​ ​ใน​ระหว่าง​เดือน​มกราคม​ ​ถึง​เดือน​มิถุนายน​ ของทุกปี
   
​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​ ​เงิน​ได้​จาก​การ​ให้​เช่า​ทรัพย์​สิน​ ​อาทิ​ ​การ​ให้​เช่า​ที่​ดิน​ ​บ้าน​ ​โรง​เรือน​ ​สิ่ง​ปลูก​สร้าง​อย่าง​อื่น​ ​รถ​ยนต์​ ​เฟอร์นิเจอร์​ ​เครื่อง​แต่ง​กาย​ ​หนังสือ​
   
​เงิน​ได้​จาก​วิชา​ชีพ​อิสระ​ ​อาทิ​ ​แพทย์​ ​ทนาย​ความ​ ​วิศวกร​ ​สถาปนิก​ ​สำนัก​งาน​บัญชี​และ​ผู้​สอบ​บัญชี​ ​ผู้​รับ​จ้าง​ทำงาน​ศิลป์​ ​เช่น​ ​ช่าง​วาด​ ​ช่าง​ปั้น​ ​ช่าง​หล่อ​ ​ช่าง​แกะ​สลัก​
   
​เงิน​ได้​จาก​การ​รับ​เหมา​ที่​ต้อง​จัด​หา​สัมภาระ​ใน​ส่วน​สำคัญ​นอก​จาก​เครื่อง​มือ​ ​อาทิ​ ​ผู้​รับ​เหมา​ก่อ​สร้าง​
   
​เงิน​ได้​จาก​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​ให้​บริการ​ ​การ​พาณิชย์​หรือ​การ​ค้า​ขาย​ ​การ​เกษตรกรรม​หรือ​ชาว​ไร่​ ​ชาว​สวน​ ​ชาว​นา​อื่น​ที่​มิ​ใช่​ชาว​นา​ข้าว​ ​การ​อุตสาหกรรม​หรือ​ผู้​ผลิต​สิน​ค้า​ ​การ​ขน​ส่ง​ ​อาทิ​ ​แท็กซี่​ ​รถ​รับ​จ้าง​ขน​ส่ง​ ​หรือ​การ​อื่น​ใด​ ​อาทิ​ ​รางวัล​จาก​การ​ประกวด​แข่ง​ขัน​ ​ชิง​โชค​ ​การ​แสดง​ของ​นัก​แสดง​สาธารณะ​ 
   
​ใน​การ​คำนวณ​ภาษี​เงิน​ได้​ครึ่ง​ปี​ ​ให้​ท่าน​ผู้​มี​เงิน​ได้​พึง​ประเมิน​ดัง​กล่าว​ถึง​เกณฑ์​ที่​กฎหมาย​กำหนด​นำ​เงิน​ได้​ที่​ได้​รับ​มา​หัก​ด้วย​ราย​การ​เงิน​ได้​ที่​ได้​รับ​ยก​เว้น​บาง​ส่วน​ ​เช่น​ ​เงิน​ได้​ที่​ผู้​สูง​อายุ​ใน​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 190,000 ​บาท​ ​แล้ว​คำนวณ​หัก​ค่า​ใช้​จ่าย​เป็น​การ​เหมา​ (​ตาม​อัตรา​ % ​ที่​กำหนด​) ​หรือ​เลือก​หัก​ค่า​ใช้​จ่าย​ตาม​ความ​จำ​เป็น​และ​สม​ควร​ (​ค่า​ใช้​จ่าย​จริง​) ​แล้ว​นำ​มา​หัก​ด้วย​ค่า​ลด​หย่อน​จำนวน​ครึ่ง​หนึ่ง​ของ​ค่า​ลด​หย่อน​ประจำ​ปี​
   
​รวม​ทั้ง​ราย​การ​เงิน​ได้​ที่​ได้​รับ​ยก​เว้น​ภาย​หลัง​จาก​การ​หัก​ค่า​ใช้​จ่าย​ต่าง​ ๆ ​อาทิ​ ​ค่า​เบี้ย​ประกัน​ชีวิต​ ​หรือ​ดอก​เบี้ย​เงิน​กู้​ยืม​ ​ใน​ส่วน​ที่​เกิน​ 10,000 ​บาท​อีก​ไม่​เกิน​ 90,000 ​บาท​ ​หรือ​ค่า​ซื้อ​หน่วย​ลง​ทุน​ใน​ ​กอง​ทุน​รวม​เพื่อ​การ​เลี้ยง​ชีพ​หรือ​หน่วย​ลง​ทุน​ใน​กอง​ทุน​รวม​หุ้น​ระยะ​ยาว​ ​หรือ​เบี้ย​ประกัน​สุข​ภาพ​ของ​บิดา​หรือ​มารดา​ของ​ผู้​มี​เงิน​ได้​หรือ​ของ​คู่​สมรส​ตาม​ที่​จ่าย​จริง​แต่​ไม่​เกิน​ 15,000 ​บาท​
   
​คง​เหลือ​เป็น​เงิน​ได้​สุทธิ​เท่า​ใด​ให้​คำนวณ​หัก​ด้วย​ ​เงิน​ได้​สุทธิ​ที่​ได้​รับ​ยก​เว้น​ ​ภาษี​จำนวน​ 150,000 ​บาท​แรก​แล้ว​คำนวณ​ตาม​อัตรา​ภาษี​ก้าว​หน้า​ ​ได้​เป็น​จำนวน​เท่า​ใด​ ​ให้​พิจารณา​ว่า​ ​จำนวน​เงิน​ได้​พึง​ประเมิน​ก่อน​หัก​ค่า​ใช้​จ่าย​เกิน​กว่า​ 1.8 ​ล้าน​บาท​ ​หรือ​ไม่​ 
   
​กรณี​ที่​เงิน​ได้​ดัง​กล่าว​ไม่​เกิน​ 1.8   ​ล้าน​บาท​ ​ให้​เสีย​ภาษี​เงิน​ได้​ตาม​ที่​คำนวณ​ ​ได้​จาก​เงิน​ได้​สุทธิ​ (​ถ้า​มี​) ​แต่​ถ้า​เงิน​ได้​ดัง​กล่าว​มี​จำนวน​เกิน​กว่า​ 1.8 ​ล้าน​บาท​ ​ให้​เปรียบ​เทียบ​จำนวน​ภาษี​เงิน​ได้​ตาม​ที่​คำนวณ​ได้​จาก​เงิน​ได้​สุทธิ​ (​ถ้า​มี​) ​กับ​จำนวน​ภาษี​เงิน​ได้​ที่​คำนวณ​ใน​อัตรา​ 0.5% ​ของ​เงิน​ได้​พึง​ประเมิน​ ​จำนวน​ใด​มาก​กว่า​ให้​เสีย​ตาม​จำนวน​นั้น​.

 675
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์