พ.ร.บ. คืออะไร / ค่าปรับผู้ไม่มี พ.ร.บ.
การประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.) ที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องทำ พ.ร.บ. หากไม่ทำมีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากทำแล้วแต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ที่รถให้เห็นชัดเจนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
โดยมีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นเฉพาะที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นๆ (คุ้มครอง "คน" ไม่คุ้มครอง "รถ") โดยควมคุ้มครองจาก พ.ร.บ มีมูลค่าความรับผิดชอบ (ต่อคน) ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล จ่ายไม่เกิน 50,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาท/คน
พ.ร.บ. ต่างกับประเภท 3 อย่างไร
กฎหมายบังคับให้คุณต้องซื้อ พ.ร.บ. ในขณะที่ประเภท3 เป็นภาคสมัครใจ โดย พ.ร.บ. คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน/รถ คนอื่น แต่ถ้าเป็นประกันประเภท 3 ประเภท 2 หรือประเภท 1 จะคุ้มครองเพิ่มจาก พ.ร.บ.
(ดูภาพประกอบ)
หมายเหตุ:
* ความเสียหายต่อร่างกายบุคคล รวมถึง การบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตและอวัยวะ ทุพพลภาพ ฯลฯ เพิ่มจากส่วนที่ พ.ร.บ. คุ้มครอง และค่าประกันตัวผู้ขับ
บุคคลภายในรถ = บุคคลที่อยู่ภายในรถยนต์ หรืออยู่ระหว่างขึ้นลงรถยนต์
บุคคลที่ 3 = ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกรถ ยกเว้น ผู้ขับ คู่สมรส บุตร บิดา-มารดา และลูกจ้าง
** ความเสียหายต่อทรัพย์สินคนอื่น รวมถึง ตัวรถยนต์ ร้านค้า อาคาร สิ่งของที่เสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์ ฯลฯ