ข่าวดี!! กรมสรรพากรได้กำหนดให้บุตรสามารถนำเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรมม์ประกันสุขภาพที่ทำให้แก่บิดามารดาของตนเองหรือบิดามารดาของคู่สมรสได้ ซึ่งสามารถมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) อย่างไรก็ตาม นายสาธิต รังคสิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่ามาตรการนี้ นอกจากจะช่วยสนับสนุนในการสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเข้มแข็ง โดยให้บุตรสามารถดูแลพ่อแม่ได้อย่างมีคุณภาพแล้วยังเป็นการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ และเป็นทางเลือกเพิ่มเติมของประชาชนในการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับการจ่ายเบี้ยประกันตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป โดยมีความสำคัญดังนี้
- บิดามารดาที่เอาประกันต้องมีเงินได้พึงประเมินได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- ผู้ที่มีเงินได้ที่หักลดหย่อนต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิยกเว้น)
- หากบุตรหลายคนร่วมกันทำประกันสุขภาพให้บิดาหรือมารดา ให้บุตรทุกคนได้รับการหักลดหย่อน โดยเฉลี่ยประกันภัยที่บุตรสามารถร่วมกันจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้
- กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- การประกันสุขภาพดังกล่าว จะให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ รวมถึงการประกันภัยอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก การประกันภัยโรคร้ายแรง (Citical Illiness) และการประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care) ด้วย ซึ่งได้รับการอนุมัติจากกรมการประกันภัยแล้ว
- บุตรผู้หักลดหย่อนจะต้องมีใบเสร็จหรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยไว้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนภาษี โดยมีข้อความอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
- ชื่อ นามสกุลและเลขประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย
- ชื่อ และนามสกุลของผู้จ่ายเบี้ยประกันภัย (ทุกคน)
- ชื่อที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทประกันฯ
- จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้สิทธิ และ
- ให้ระบุข้อความว่า ” สามารถนำไปยกเว้นภาษีเป็นจำนวนเงิน …….. บาท ”
สำหรับผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐนั้น จะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีไม่มากนักอย่างไรก็ดี มาตรการนี้จะมีส่วนช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐบาลในด้านสุขภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย