On-Page SEO เป็นการปรับแต่งเว็บหรือส่วนต่างๆ ของหน้าเว็บ ได้แก่ การวางโครงสร้างเว็บ การเขียนโค้ดในหน้าเว็บเพจ การเขียนเนื้อหาให้เหมาะกับ Search Engine และการกระจายคีย์เวิร์ดในส่วนต่างๆ
- Title ถือว่ามีความสำคัญมากในการทำ SEO Title Tag กับ Meta Description ของแต่ละหน้าในเว็บของเราต้องไม่ซ้ำกัน การตั้งชื่อ title ให้ เอา keyword หลักของหน้านั้นขึ้นก่อน เพราะคำที่มาก่อนจะมีน้ำหนักมากกว่าคำที่มาหลัง ส่วนการจะเว้นวรรค หรือใช้อะไรคั่นข้อความหรือ keyword ที่เราต้องการแยกออกจากกัน เช่น ช่องว่าง(space) คอมม่า(,) แสลช(/) ไปป์ (|) เป็นต้น แต่อย่าใช้ ขีดล่าง หรือ underscore (_) เพราะว่าจะถูกมองว่าเป็นข้อความเดียวกัน การตั้งชื่อ Title ได้ 60 ตัวอักษรเท่านั้น เพราะ ที่เกินกว่านั้นจะไม่ถูกนำออกมาแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้งานอ่านไม่รู้เรื่องได้
- ตั้งชื่อ Title ควรใช้คำให้น่าสนใจ แล้วก็ควรที่จะเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เราทำการ Research มา
- keyword ที่นำมาใช้ควรมีคำใกล้เคียงอยู่ด้วย การโฟกัสไปที่คำเดียวยากมาก ควรมีคำที่สนับสนุน Keyword ด้วย
- เขียน Meta Description ให้สอดคล้องกับ Title วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้คนที่ทำการค้นหานั้นอยากคลิก แล้วก็เข้ามาอ่านต่อในเว็บของเรา (เพราะว่า Google จะเอา Meta Description ไปแสดงในหน้าที่แสดงผลของการค้นหา)
- ตั้งค่า charset ให้ถูกต้อง เช่น <meta http-equiv=“Content-Type” content=“text/html; charset=UTF-8″ />
- อย่าลืมความสำคัญของ Header Tags เช่น h1, h2, Bold/Strong, Italic/em ควรมีทุก page
- พยายามที่จะใส่ Keyword ไว้ในที่ต่างๆ เหล่านี้ เช่น Title Tag, Meta Description, h1, h2, ย่อหน้าแรกของเนื้อหา, URL ของหน้านั้นๆ เป็นต้น อาจจะใช้ตัวหน้า หรือว่าขีดเส้นใต้ให้กับ Keyword เหล่านั้นด้วยก็ได้
- เนื้อหาของเว็บ เราต้องหาทางนำเสนอเนื้อหาที่ดีมาก ซึ่งหลัก ๆ ในปัจจุบันนอกจากการพยายามอย่าใช้ keyword ซ้ำกันเยอะ ๆ แล้ว (Keyword Spamming) ต้องมีเนื้อหาที่มีเป็นประโยชน์ด้วย ซึ่งเนื้อหาที่มีประโยชน์ในที่นี้ ไม่ได้พูดถึงแค่ความยาวเพียงอย่างเดียว แต่การนำมารูปภาพและวิดีโอยังมีส่วนนำมาพิจารณาด้วยเหมือนกัน เราควรพิจารณาด้วยว่า user น่าจะใช้คำแบบไหน search เพราะ user แต่ละคนอาจจะ search คนละแบบนั่นเอง
- ระวังอย่าให้มีบทความที่มีเนื้อหาซ้ำกัน (Duplicate Content) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะ Google เพิ่งจะอัปเดต algorithm (panda algorithm) ที่จัดการกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ หรือมีการใช้เนื้อหาซ้ำกับที่อื่น สังเกตเว็บไซต์ของเราระหว่าง www และไม่มี www ควรใช้เพียงอย่างเดียว เพราะเวลามีลิงก์มาจากภายนอก เราจะได้ไม่เสียประโยชน์
- การลิงก์ภายในเว็บไซต์ (Internal linking) คือทำให้ structure ภายในเว็บของเราส่งค่า PR ไปยังส่วนที่เราเน้นมากที่สุด ซึ่งการลิงก์ไปยังหน้าที่ไม่จำเป็น เมื่อก่อนนี้ก็มีการเอา nofollow มาใส่บ้าง ใช้ Javascript มาทำเป็นลิงก์เพื่อให้ bot ไม่นับบ้าง (แต่ปัจจุบันการใช้ nofollow เพื่อจัดการ PR ไม่ได้ผลแล้ว)
- ใช้ Links ในส่วนของ Footer ให้เป็นประโยชน์ (เหมาะสำหรับพวก Long Tail Keywords)
- พวก Image Tag อย่าลืมใส่ค่าตรง alt ด้วย เช่น<img src=”sample-image.jpg” alt=”This is a sample image” />
- การตั้งชื่อ File ก็เป็นส่วนช่วยได้เช่นกัน เพราะเสริมให้น้ำหนักของ keyword มีมากขึ้น โดยตั้งชื่อ File ให้เกี่ยวข้องกับ keyword ของหน้านั้น ๆ
- พวก CSS กับ JavaScripts ควรจะแยกออกไปเป็นไฟล์ไว้ข้างนอก เพื่อที่จะลดขนาด HTML ของหน้าเว็บนั้นๆ ซึ่งจะทำให้หน้าเว็บนั้น สามารถโหลดได้เร็วขึ้น
- Javascript กับ CSS ให้แยกเป็นไฟล์ต่างหาก
- หากสามารถทำได้ ควรแยกไฟล์ CSS หรือ Javascript ที่ใช้ไม่บ่อยออกเป็น File ต่างหาก จะได้ไม่ต้องทำการโหลดทุกหน้า
ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้ ในที่นี้รวมไปถึงคนที่ใส่ รูปภาพใน CSS มันจะโหลดรูปทุกหน้าที่มี CSS ตัวนั้น
Javascript กับ CSS ให้แยกเป็นไฟล์ต่างหาก - หากสามารถทำได้ ควรแยกไฟล์ CSS หรือ Javascript ที่ใช้ไม่บ่อยออกเป็น File ต่างหาก จะได้ไม่ต้องทำการโหลดทุกหน้า ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใช้ ในที่นี้รวมไปถึงคนที่ใส่ รูปภาพใน CSS มันจะโหลดรูปทุกหน้าที่มี CSS ตัวนั้น
นอกจากนั้นการตั้งชื่อ Title หรือการกำหนด Keyword ของเว็บสามารถศึกษาข้อมูลหรือดูแนวโน้มของคำที่นิยมได้จาก Google Trend
เครื่องมือที่แนะนำ :
PageRank Status (Chrome SEO Toolbar)
แนะนำบทความ :
SEO ทำยังไง? มาอ่านข้อแนะนำที่ถูกต้องโดยตรงจาก Google กันดีกว่า
ขอบคุณเนื้อหาจาก :
Sciartseo.com
Pccompete.com
Credit : เจษฎาภรณ์ ไพรวัลย์ (Jedsadaporn Phaiwan)