Social Network มีผลกระทบทางลบต่อการทำงานทั้งของนายจ้าง ลูกจ้าง เพราะสื่อที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์จะคอยรบกวนการทำงาน สมาธิของพนักงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพิ่มมูลค่าต้นทุนของบริษัท และยังเป็นอันตรายต่อชื่อเสียงอีกทั้งความน่าเชื่อถือของบริษัท เพียงแค่พนักงานบางคนลืมตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในทะเบียนเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็อาจต้องลงเอยด้วยการถูกไล่ออกจากบริษัทเพราะไปแสดงข้อความที่ไม่เหมาะสมไว้ก็เป็นได้ ยิ่งไปกว่านั้นเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็อาจเป็นภัยแก่คนที่กำลังหางานทำ เพราะทั้ง Facebook และ LINE ต่างก็เป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมของหลายบริษัท ต่างๆในการสอดส่องพฤติกรรมของผู้สมัครงานเพื่อใช้คัดกรองพนักงาน แฟ้มประวัติบนเฟซบุ๊คจำนวนมากแสดงข้อมูลหลายๆสิ่งที่คนหางานไม่อยากให้เจ้านายในอนาคตของตัวเองรับรู้ เว็บไซต์หางานชื่อดังอย่าง Careerbuilder.com ระบุว่ากว่า 45% ของนายจ้างใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการคัดเลือกพนักงาน
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ข้อความส่วนตัวบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ถูกเผยแพร่ออกสู่ สาธารณะจนสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัท เช่นกรณีพนักงานไทยสาขาเยอรมนีของบริษัทเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน “อิเกีย” (Ikea) ได้ เขียนข้อความแสดงความเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบนเครือข่ายสังคม ออนไลน์เฟซบุ๊ค จนเป็นข่าวครึกโครมให้บริษัทอิเกีย ประเทศไทยที่เพิ่งเปิดใหม่ต้องรับมือกับข่าวนี้โดยไม่ทันตั้งตัว สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก โดยอิเกียได้แสดงความคิดเห็นต่อผลกระทบของเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ในจดหมาย เปิดผนึกด้วยว่า
“เป็น ที่น่าเสียใจที่เฟซบุ๊คของอิเกียประเทศไทย ถูกใช้เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็นที่รุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออิเกียประเทศไทยเช่นกัน แม้ว่าเราจะพยายามซ่อนและลบข้อความที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี เราไม่ได้ห้ามการแสดงความคิดเห็น แต่เราขอสงวนสิทธิ์ในการลบข้อความที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง อิเกียประเทศไทย ขอความร่วมมือในการโพสต์ข้อความต่างๆ บน เฟซบุ๊คของอิเกียประเทศไทย อย่างสุภาพ อิเกียไม่อนุญาตให้โพสต์ข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายไทย ข้อความที่ไม่สุภาพหรือดูหมิ่น และข้อความที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของบุคคลทั่วไปบนเฟซบุ๊คของอิเกียประเทศ ไทย อิเกียประเทศไทย เข้าใจและเคารพในความคิดเห็นของทุกคน เรารู้สึกเสียใจและขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างความ กระทบกระเทือนจิตใจชาวไทย”
โปรซอฟท์ กรุ๊ป เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโดยตรง การบริการ ในปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเรื่องของต้นทุน แต่กลับกลาย เป็นสินค้าชนิดหนึ่ง เป็นการตลาดเชิงกลยุทธ์ เป็นวัฒนธรรมขององค์กร เป็นบุคลิกภาพ เป็นจุดได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เป็นงานที่ดัดนิสัย เป็นการขาย เป็นการโฆษณา เป็นภาพลักษณ์ และเป็นการตอกย้ำแบรนด์ทั้งของตนเอง ทีมงาน และองค์กร ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นผลพวงจากคุณภาพการบริการทั้งสิ้น อยากให้โปรซอฟท์ทุกคนใช้เวลากับการทำงานให้เต็มที่ เพื่อผลสำเร็จที่จะได้รับร่วมกัน วันนี้ HR จึงมีวิธีการบริการลูกค้ามาแนะนำค่ะ