สี่ขั้นตอนง่ายๆ ให้เงินทำงาน

สี่ขั้นตอนง่ายๆ ให้เงินทำงาน

 

ช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 กูรูในวงการลงทุนทั้งหลายต่างก็ออกมาพูดถึงแนวโน้มการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไทยว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโต กำไรบริษัทจดทะเบียนจะโตได้สูงถึง 15%ดัชนียังสามารถที่จะขึ้นต่อเนื่องไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้เรื่อยๆ โดยมีนักวิเคราะห์หลายท่านให้เป้าหมายว่าจะไปถึง 1,700 จุดเลยทีเดียว

แต่พอมาแตะจุดสูงสุดในรอบ 16 ปีที่กว่า 1,600 จุด ดัชนีก็แกว่งตัวผันผวน ทั้งลงแรงไปบริเวณ 1,350 จุด รวมทั้งปรับขึ้นแรงๆ กลับไปมาหลายรอบ การทำนายทิศทางตลาดจึงเป็นเรื่องยาก การติดตามสถานการณ์และวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ ก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน

สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามทิศทางตลาดหุ้น และวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ อาจเกิดคำถามขึ้นว่าจะลงทุนอย่างไรให้ได้กำไร บทความนี้ขอแนะนำ หลักการง่ายๆ สี่ขั้นตอนบวกกับวินัยการลงทุน ซึ่งจะช่วยให้บริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนี้

1.มั่นใจด้วยเงินสำรอง

ก่อนจะก้าวไปสู่การวางแผนลงทุน เราต้องมีรากฐานทางการเงินที่ดีเสียก่อน โดยควรมีเงินสำรองประมาณ 3 – 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน สำหรับผู้ที่ไม่มีภาระทางครอบครัว งานประจำมั่นคงก็อาจสำรองเงินเพียง 3 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้ แต่ถ้ามีภาระทางครอบครัว

หรือทำงานที่มีรายได้ไม่แน่นอนในแต่ละเดือน ก็ควรมีเงินสำรองเอาไว้เผื่อใช้ยามฉุกเฉินได้นานประมาณครึ่งปี เงินในส่วนนี้จะช่วยให้เราไม่ต้องไปดึงเงินที่อยู่ระหว่างการลงทุนเพื่อเป้า หมายระยะกลางถึงยาว มาใช้ยามฉุกเฉิน โดยเงินในส่วนนี้ควรเก็บเอาไว้ในรูปแบบของบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือกองทุนตลาดเงิน เพื่อความมั่นใจว่าเงินต้นจะไม่หายไปไหน และมีสภาพคล่องสูงเหมาะกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน

2.อุ่นใจด้วยประกัน

อุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน เราจึงควรทำประกันอุบัติเหตุเอาไว้ก่อนเริ่มต้นลงทุน ซึ่งประกันที่ดีนั้น จะต้องมีวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่เพียงพอกับอุบัติเหตุทั่วไป (ประมาณ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง) และควรมีทุนประกันคุ้มครองชีวิตสำหรับผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวประมาณ 5 เท่าของรายจ่ายในแต่ละปี

ถ้าหากโชคร้ายเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ประกันจะช่วยบรรเทาความเสียหายทางการเงินจากค่ารักษาพยาบาลไม่ให้ต้องเสีย จังหวะการลงทุน นอกจากประกันอุบัติเหตุแล้ว เราอาจต้องทำประกันสุขภาพ หากที่ทำงานไม่มีสวัสดิการด้านสุขภาพเอาไว้ให้เบิกเวลาเจ็บป่วย

ทั้งนี้ ถ้าที่ทำงานเปิดโอกาสให้สมัครประกันสุขภาพแบบกลุ่ม ซึ่งจะมีเบี้ยประกันที่ถูกกว่าการประกันรายบุคคล ก็ควรจะทำเอาไว้ แต่ถ้าไม่มีก็สามารถพิจารณาทำแบบเดี่ยวได้โดยติดต่อตัวแทนประกัน หรือสาขาของธนาคารที่สะดวก 

3.วางใจด้วยกองทุน

หลัง จากมีพร้อมทั้งเงินสำรองและประกันแล้ว ก็สามารถเริ่มต้นการลงทุนได้ แต่สำหรับคนที่ไม่พร้อมด้านเวลาในการติดตามทิศทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของ บริษัทจดทะเบียน หรือไม่มีความรู้เพียงพอในการอ่านงบการเงิน และการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์

ในปัจจุบันก็มีกองทุนรวมหลายประเภทที่บริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพให้ เลือกซื้อได้อย่างสะดวก สำหรับวิธีการเลือกกองทุนอย่างง่ายนั้น แนะนำให้เปรียบเทียบผลดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนที่สนใจกับกองทุนประเภท เดียวกันและดัชนีมาตรฐาน ในช่วง 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี

เนื่องจากการลงทุนในกองทุนนั้นควรเป็นการลงทุนในระยะยาว เราควรให้น้ำหนักกับผลตอบแทนระยะยาวเป็นหลัก รวมทั้งจะต้องดูความสะดวกในการซื้อกองทุนประกอบด้วย หากเราเลือกกองทุนที่มีการทำรายการซื้อขายยุ่งยากเกินไป 

ก็อาจส่งผลให้เราขาดวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอก็เป็นได้ สำหรับประเภทกองทุนหลักๆ ที่ควรจะมีคือ กองทุนตราสารหนี้ และกองทุนหุ้น หรือบางคนอาจเลือกกองทุนผสมไปเลยก็ได้เพื่อความง่ายในการลงทุน

4.สบายใจด้วยการบริหารความเสี่ยง

เมื่อ เราได้คัดเลือกกองทุนที่เหมาะสมแล้ว เวลาลงทุน เราควรจัดสรรการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ โดยพอร์ตการลงทุนควรมีกองทุนอย่างน้อยสองประเภทคือ กองทุนตราสารหนี้ และกองทุนหุ้น ถ้าหากรับความเสี่ยงได้น้อย ก็เน้นสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความมั่นคง ลดความผันผวน แต่ถ้ารับความเสี่ยงได้มาก ก็เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นให้มากขึ้น เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความมั่งคั่งได้เร็วขึ้น โดยแลกมากับความผันผวนที่สูงขึ้น

นักลงทุนที่ต้องการใช้กองทุนในการบริหารความเสี่ยง อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ

1.นักลงทุนที่ไม่ได้มีเงินก้อนมาก่อน และต้องการสร้างความมั่งคั่งจากเงินออมที่กันออกมาจากรายได้ในแต่ละเดือน

2.นักลงทุนที่มีเงินก้อนอยู่แล้ว และต้องการนำเงินก้อนมาจัดสรรการลงทุน

 

สำหรับนักลงทุนรายเดือน แนะนำให้ลงทุนด้วยเงินจำนวนที่เท่าๆ กันทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องสนใจว่า เศรษฐกิจจะขึ้นหรือลง (วิธีการ DCA หรือ Dollar Cost Averaging) ผล ตอบแทนระยะยาวมีโอกาสที่จะได้ตามผลตอบแทนเฉลี่ยของแต่ละสินทรัพย์ตามสัดส่วน ของพอร์ตลงทุน นอกจากนี้ เราอาจใช้กองทุนผสมที่มีสัดส่วนของตราสารหนี้และหุ้นตามความสามารถในการรับ ความเสี่ยงของเรา เพื่อให้ง่ายขึ้นเวลาทยอยซื้อลงทุนในแต่ละเดือน

สำหรับนักลงทุนที่มีเงินก้อนมาลงทุน แนะ นำให้จัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป หากหุ้นขึ้น สัดส่วนในหุ้นจะเพิ่มขึ้น ก็ให้ทำการปรับสัดส่วนให้กลับมาเท่ากับที่เรากำหนดเอาไว้ตอนแรก (วิธีการ Re-balancing) โดย สับเปลี่ยนกองทุนหุ้นบางส่วนมาไว้ในกองทุนตราสารหนี้ ในทางกลับกัน หากหุ้นตก สัดส่วนในหุ้นจะลดลง ก็ให้สับเปลี่ยนเงินจากกองทุนตราสารหนี้ไปเข้ากองทุนหุ้นแทน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารับความเสี่ยงได้ปานกลาง โดยตั้งใจลงทุนในกองทุนหุ้น และกองทุนตราสารหนี้อย่างละ 50% เมื่อหุ้นปรับตัวลดลง ทำให้สัดส่วนเปลี่ยนไปเป็นกองทุนหุ้น 40% และกองทุนตราสารหนี้ 60% เราต้องสับเปลี่ยนกองทุนตราสารหนี้ 10% มายังกองทุนหุ้น เพื่อให้ทั้งสองกองทุนดำรงสัดส่วนไว้ที่ 50% ตาม ที่ได้จัดพอร์ตไว้แต่ต้น อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรปรับสัดส่วนบ่อยเกินไป เนื่องจากการปรับสัดส่วนในแต่ละครั้งอาจมีค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนเกิด ขึ้น การปรับสัดส่วนที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี

ก่อนลงทุนเราอาจทำ Check List ว่า จะต้องเตรียมอะไรก่อนการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงนี้บ้าง เช่น กำหนดจำนวนเงินสำรองที่ต้องมี ตรวจสอบสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลกับที่ทำงานรวมถึงจำนวนเงินค่ารักษา พยาบาลของโรคแต่ละชนิด ว่ามีสวัสดิการเพียงพอหรือไม่ ตรวจเช็คกองทุนที่ซื้อขายได้สะดวก มีผลดำเนินการดี และตรวจสอบความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง เพื่อจะได้จัดสรรการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

 

ขอบคุณข้อมูล : k-expert

 999
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์