สภาพปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ทำให้สถานประกอบการหลายแห่งขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ มีความจำเป็นต้องชะลอการลงทุนลดการผลิตหรือหยุดกิจการส่งผลให้ลูกจ้างผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างว่างงาน จากสถานการณ์ดังกล่าว มีผลให้รัฐบาลได้กำหนดนโยบายช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน (ผู้ประกันตน) ที่มีรายได้น้อยตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐแก่รัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการใช้จ่ายระดับครัวเรือน โดยสานักงานประกันสังคม ให้การสนับสนุนข้อมูลผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม รวมถึงกระทรวงแรงงานได้ออกมาตรการ 3 ลด 3 เพิ่ม ได้แก่ ลดการเลิกจ้าง ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ลดค่าครองชีพ เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ และเพิ่มการพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งนี้ สานักงานประกันสังคม ซึ่งมีภารกิจให้ความคุ้มครองการประกันสังคมแก่ผู้ประกันตนใน 7 สิทธิประโยชน์หนึ่งในสิทธิประโยชน์นั้น คือ สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน และได้มีการแก้กฎหมายประกันสังคมเพื่อขยายเวลาการรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเดิม 6 เดือน เป็น 8 เดือน และยังได้ดำเนินการช่วยเหลือแก่สถานประกอบการและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการวิกฤตแรงงานไทยคืนถิ่นร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรือออกจากงานต้องประกอบอาชีพเป็นการเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ โครงการสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงานร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการที่ต้องการหมุนเวียนในการดำเนินกิจการเป็นการ ลดการเลิกจ้าง
จากการดำเนินการตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเป็นที่สนใจของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างผู้ประกันตน ในการรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ดังนั้นหากลูกจ้างลาออก หรือมีความจำเป็นต้องเลิกจ้าง ขอความร่วมมือให้นายจ้างแจ้งมายังสานักงานประกันสังคมทราบเพื่อที่สานักงานประกันสังคม จะวินิจฉัยจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจของผู้ว่างงาน ซึ่งการแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนให้ลูกจ้างล่าช้านั้น ลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิหรือได้รับสิทธิประโยชน์ล่าช้าอาจเป็นการซ้าเติมลูกจ้างที่ออกจากงาน ให้มีความลำบากมากขึ้นจากการตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนพบว่า มีนายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนล่าช้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดทำให้ฐานข้อมูลผู้ประกันตนซึ่งเป็นข้อมูลหลักในการปฏิบัติไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบันส่งผลกระทบให้
ผู้ประกันตนไม่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน หรือได้รับประโยชน์ทดแทนล่าช้า อาจทำให้ผู้ประกันตนจำนวนมากต้องเสียสิทธิในการรับความช่วยเหลือ สำนักงานประกันสังคมจึงวอนขอนายจ้างให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว หากนายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะมีบทลงโทษคือ จาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ทั้งนี้สานักงานประกันสังคมมีความจำเป็นต้องดำเนินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ละเลยการปฏิบัติโดยจะตรวจสอบและดำเนินการอย่างจริงจัง
สาหรับผู้ประกันตนก็เช่นกัน ต้องหมั่นตรวจสอบข้อมูลและสิทธิประโยชน์ต่างๆของตนเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน การนำส่งเงินสมทบ เงินออมกรณีชราภาพ และการรับสิทธิประโยชน์รวมถึงเงื่อนไขการรับสิทธิ เพราะถ้าหากนายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนหรือไม่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้กับผู้ประกันตนแล้วจะส่งผลทำให้เกิดผลกระทบต่อการรับประโยชน์ทดแทนในกรณีต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการรับประโยชน์ทดแทนโดยผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่นายจ้างนาส่งเงินสมทบ หรือโทน 1506 ติดต่อโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ซึ่งให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 19.00 น.หรือที่ www.sso.go.th
…………………………………………