“หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ”

“หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ”

“หลักเกณฑ์การยกเว้นการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ”

 

        การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการเพิ่มเติมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่มีอยู่แล้วตามปกติ 100,000 บาท เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท ซึ่งวงเงินที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน

 
 
 

หลักเกณฑ์การยกเว้นเงินได้สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ

 

(1) เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

(2) ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย

(3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้ โดยจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน

(4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ก่อนได้รับผลประโยชน์

ตัวอย่างการคำนวณฯ ที่ 1

 

ตัวอย่างที่ 1 นาย ข. มีเงินได้ปีละ 1,280,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 143,500 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 128,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 121,000 บาท นาย ข. สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ดังนี้

(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,280,000 x 15 % = 192,000

(2) นาย ข. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 143,500 บาท ให้ไปใช้สิทธิหักประกันชีวิตปกติก่อน (10,000 + 90,000) = 100,000 บาท
ส่วนที่เหลือนำไปใช้สิทธิค่าลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ 43,500 บาท (143,500 - 100,000)

(3) นำยอดค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ 43,500 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าไม่เกิน 192,000 บาท (15 % ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท)

(4) นำยอดค่าประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 43,500 + 128,000 + 121,000 = 292,500 บาท

นาย ข. สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหัก เป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติ 100,000 บาท และหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 43,500 บาท

ตัวอย่างการคำนวณฯ ที่ 2

 

ตัวอย่างที่ 2 นาย ง. มีเงินได้ปีละ 1,350,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพปีละ 120,000 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 250,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 135,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 100,000 บาท นาย ง. สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ดังนี้

(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,350,000 x 15 % = 202,500 บาท

(2) นาย ง. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 120,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันแบบปกติก่อน 100,000 บาท ส่วนที่เกิน 100,000 บาท(20,000 บาท) ตัดทิ้งเพราะหักเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติครบถ้วนแล้ว

(3) นำยอดเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายจริง 250,000 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าเกิน 15% (202,500 บาท) และเกิน 200,000 บาท จึงสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้เต็ม 200,000 บาท

(4) นำยอดค่าเบี้ยประกันภัยแบบบำนาญที่สามารถหักได้ตาม 3. ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 200,000 + 135,000 + 100,000 = 435,000 บาท พบว่าไม่เกิน

นาย ง. สามารถหักเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพได้ 100,000 บาท และหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 200,000 บาท

ตัวอย่างการคำนวณฯ ที่ 3

 

ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้มีเงินได้ทุกประเภทภาษีรวมทั้งปีเท่ากับ 3,400,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของตนเองไว้รวมปีละ 60,000 บาท ได้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญไว้ 300,000 บาท และซื้อหน่วยลงทุน RMF ไว้ในปีเดียวกันถึง 360,000 บาท นาย ก. สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ดังนี้

(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้มีเงินได้ทั้งปี 3,400,000 บาท ไม่เกินร้อยละ 15 มีเพดานสูงสุดเท่ากับ = 3,400,000 X 15% = ไม่เกิน 510,000 บาท

(2) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 60,000 บาท ให้นำเบี้ยประกันไปใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตปกติก่อน 60,000 บาท คงเหลืออีก 40,000 บาท (100,000 - 60,000 = 40,000 ) จึงนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาใช้สิทธิให้ครบ 100,000 บาท

(3) นาย ก. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 300,000 บาท คงเหลืออีก 260,000 บาท (300,000 - 40,000) นำมาเปรียบเทียบกับตาม 1. พบว่าไม่เกิน จึงสามารถใช้สิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้เต็ม 200,000 บาท

(4) นำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท ไปรวมกับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF 360,000 บาท = 560,000 (200,000 + 360,000) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท พบว่า เกินวงเงินที่สามารถหักได้รวม 60,000 บาท (560,000 - 500,000 = 60,000)

(5) นำสิทธิที่สามารถหักเบี้ยประกันแบบบำนาญตาม 3. 200,000 บาท มาหักกับวงเงินที่เกินสิทธิหักได้ 60,000 บาท คงเหลือสิทธิที่หักได้จริง 140,000 บาท (200,000 – 60,000 = 140,000 บาท )

นาย ก. สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 180,000 บาท โดยนำไปหักลดหย่อนในส่วนของเงินประกันชีวิตปกติ 40,000 บาท รวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 60,000 บาท รวมเป็นเบี้ยประกันชีวิตปกติ 100,000 บาท และในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญอีก 140,000 บาท

ตัวอย่างการคำนวณฯ ที่ 4

 

ตัวอย่างที่ 4 นาย จ. มีเงินได้ปีละ 1,280,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 143,500 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 128,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 121,000 บาท สมรสกับนาง เอ. มีเงินได้ปีละ 1,100,000 บาท ซึ่งได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 140,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 120,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 100,000 บาท นาง เอ. ใช้สิทธิแยกยื่นเสียภาษี นาย จ. และนาง เอ. สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ดังนี้

การคำนวณของ นาย จ.
(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,280,000 x 15 % = 192,000

(2) นาย จ. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 143,500 บาท ให้ไปใช้สิทธิหักประกันชีวิตปกติก่อน (10,000 + 90,000) = 100,000 บาท

ส่วนที่เหลือนำไปใช้สิทธิค่าลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ 43,500 บาท (143,500 - 100,000)

(3) นำยอดค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ 43,500 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าไม่เกิน 192,000 บาท (15 % ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท)

(4) นำยอดค่าประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 43,500 + 128,000 + 121,000 = 292,500 บาท

การคำนวณของ นางเอ.
(1) คำนวณยอดการใช้สิทธิหักไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วพักไว้ = 1,100,000 x 15 % = 165,000

(2) นาย เอ. จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 140,000 บาท ให้ไปใช้สิทธิหักประกันชีวิตปกติก่อน (10,000 + 90,000) = 100,000 บาท
ส่วนที่เหลือนำไปใช้สิทธิค่าลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ 40,000 บาท (140,000 - 100,000)

(3) นำยอดค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ 40,000 บาท เทียบกับวงเงินตาม 1. พบว่าไม่เกิน 165,000 บาท (15 % ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท)

(4) นำยอดค่าประกันชีวิตแบบบำนาญที่เหลือ ไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท = 40,000 + 120,000 + 100,000 = 260,000 บาท

นาย จ. สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหัก เป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติ 100,000 บาทและหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 43,500 บาท

นาย เอ. สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหัก เป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบปกติ 100,000 บาท และหักเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีก 40,000 บาท

 
     
          ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมท่านสามารถเข้าไปในเว็บไซต์  
          http://www.rd.go.th > อ้างอิง > ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร > เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 112  
          http://www.rd.go.th > อ้างอิง > ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร > เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 172  
          http://www.rd.go.th > อ้างอิง > ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร > เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 194  
          http://www.rd.go.th > อ้างอิง > กฎกระทรวง > ฉบับที่ 126 พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 266) พ.ศ. 2551  
          ตารางเปรียบเทียบหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
 5563
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์