ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ
- ผู้ประกันตน / ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อม ลงลายมือชื่อ และนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน
- เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา
- สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
- พิจารณาสั่งจ่าย
เงินสด / เช็ค (ผู้ประกันตน / ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว
1. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน)
กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ
ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทน
กรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
ตัวอย่าง ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2547 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตน ดังนี้
ปี | จำนวนเงินสมทบ | ||
---|---|---|---|
นายจ้าง | ผู้ประกันตน | รวม | |
2542 |
850 |
850 |
1,700 |
2543 |
1,550 |
1,550 |
3,100 |
2544 |
2,300 |
2,300 |
4,600 |
2545 |
3,200 |
3,200 |
6,400 |
2546 |
4,100 |
4,100 |
8,200 |
2547 |
2,800 |
2,800 |
5,600 |
รวม |
14,800 |
14,800 |
29,600 |
วิธีคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน
ปี | เงินสมทบ | เงินสมทบสะสม x อัตรา | ผลประโยชน์ตอบแทน |
---|---|---|---|
2542 | 1,700 | 1,700 x 2.4% | = 40.80 |
2543 | 3,100 | (1,700 + 3,100 = 4,800 ) x 3.7% | = 177.60 |
2544 | 4,600 | (4,800 + 4,600 = 9,400) x 4.2% | = 394.80 |
2545 | 6,400 | (9,400 + 6,400 = 15,800) x 4.3% | = 679.40 |
2546 | 8,200 | (15,800 + 8,200 = 24,000) x 6.5% | = 1,560.00 |
2547 | 5,600 | (24,000 + 5,600 = 29,600) x 2.00% x 11/12 | = 542.67 |
รวม | 3,395.27 |
หมายเหตุ 11/12 หมายถึง ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบมาแค่ 11 เดือน ภายใน 1 ปี
เงินบำเหน็จชราภาพและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ คือ 29,600 + 3,395.27 = 32,995.27บาท
3. ประโยช์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ
(สำหรับ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)
ตัวอย่างที่ 1 | 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย |
=
|
20 x 13.000 100 |
= 2,600 | |||
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 2,600 บาท ไปจนตลอดชีวิต | |||||||
การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย รวมกันแล้วหารด้วย 60 | |||||||
ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน จำนวนเดือน (60 เดือน) |
|||||||
กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน | |||||||
เช่น จ่ายเงินสมทบมาได้ 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย เป็นต้น |
ตัวอย่างที่ 2 ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร
1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ
= 15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%
= 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี ) = 7.5%
รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20% + 7.5% = 27.5%
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 15,000 บาท
= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต
2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
= 4,125 บาท × 10 เท่า
= 41,250 บาท
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่าง การทำงานมากมายแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง อุ่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน