ก่อนหน้านี้มีความเชื่อกันว่าการรับประทานอาหารมื้อเย็นหากรับประทานดึกจะทำให้อ้วน แต่ยังไม่การศึกษาว่าทำให้อ้วนจริงหรือเปล่า จนกระทั่ง Rika Yokoyama, MS และคณะจากญี่ปุ่นได้สึกษาถึงผลการรับประทานอาหารค่ำดึกไปว่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนหรือไม่ |
การศึกษานี้ใช้คน 10 คนอายุเฉลี่ย 40 ปี ดัชนีมวลกายประมาณ 23.1 โดยให้รับประทานอาหารเช้าเวลา 8.00 น อาหารบ่ายเวลา 13.00 น ส่วนอาหารค่ำปกติเวลา 19.00 น ส่วนอาหารค่ำดึก 22.00 น ผู้วิจัยจะให้ผู้ทดลองรับประทานอาหารตามเวลาดังกล่าว ชนิดของอาหารจะเหมือนกัน โดยรับประทานอาหารในห้องซึ่งสามารถวัดปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อวัดปริมาณพลังงานที่ใช้ นอกจากนั้นยังวัดความหิวด้วยผลการศึกษา
- ผู้ที่รับประทานอาหารมื้อเย็นเร็วจะมีการใช้พลังงานมากกว่าผู้ที่ทานอาหารมื้อเย็นดึก เนื่องจากผู้ที่รับอาหารมื้อเย็นเร็วจะมีเวลาืำกิจกรรมนานกว่าผู้ที่รับดึก ดังนั้นผู้ที่รับประทานอาหารเย็นเร็วจะมีโอกาศอ้วนน้อยกว่า
- ระดับน้ำตาลและปริมาณอินซูลินในเลือดของผู้ที่รับประทานอาหารเย็นเร็วจะต่ำกว่าผู้ที่รับประทานดึก
- กรดไขมันในผู้ที่รับประทานอาหารเร็วจะต่ำกว่าผู้ที่รับประทานมื้อเย็นดึก
- ผู้ที่รับประทานอาหารเย็นดึกจะหิวเก่งกว่าคนที่รับประทานเร็ว
Obesity 2010: The Obesity Society 28th Annual Scientific Meeting. Poster 202-P. Presented October 12, 2010.
ข้อเสนอแนะ
แม้ว่าจะเป็นการศึกษาที่ใช้คนไม่มากแต่ข้อมูลออกไปในทิศทางเดียวกันว่าอาหารมื้อเย็นควรจะรับไม่เกินเวลา 19 น เพราะหากรับสายหรือดึกจะก่อผลเสียต่อสุขภาพ