คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ

คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ

คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ

ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการทำงานนั้น เป็นประโยชน์อย่างมากแต่การทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ในการใช้งานหากเราคำนึงถึงในข้อนี้ จะช่วยป้องกันอันตรายจากการใช้คอมพิวเตอร์ได้ ทำให้ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้อย่างสูงสุดและปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย



1.คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ

การทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ จึงควรศึกษาคำแนะนำเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย และเพื่อความสะดวกสบายในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

มีการทดลองพบว่า การนั่งพิมพ์งานอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ หรือการจัดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อุปนิสัยการทำงานไม่ถูกต้อง หรือการมีปัญหาด้านสุขภาพ อาจทำให้มีการปวดข้อมือ ปวดเส้นเอ็น หรือมีอาการอักเสบได้

อาการที่เกิดขึ้นได้ในเวลาที่กำลังพิมพ์เอกสารอยู่ หรือในเวลาอื่นที่ไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ในเวลากลางคืน หากมีอาการข้างต้นหรือมีอาการอื่นที่คิดว่าน่าจะเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการทำงานจะเป็นปัจจัยในการตัดสินสมรรถภาพในการทำงานของเรา อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ว่า เรามีนิสัยการทำงานที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยหรือไม่ การปฏิบัติตามคำแนะนำจะทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน


2.การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพ

ในการใช้คอมพิวเตอร์ระยะเวลานานๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวดตามอวัยวะต่างๆ เช่น อาการปวดตา น้ำตาไหลเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ในระยะเวลานานๆ อาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือ เป็นต้น ดังนั้นการเอาใจใส่ต่อสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีต่อสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและไม่ควรมองข้าม มีคนจำนวนมากในปัจจุบันที่จำเป็นจะต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากใช้งานคอมพิวเตอร์ในระยะเวลาไม่นานก็คงไม่มีปัญหาอะไรที่จะกระทบต่อร่างกายมากนัก หากการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระยะเวลาไม่นานก็คงไม่มีปัญหาอะไรที่จะกระทบต่อร่างกายมากนัก หากการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มากกว่าหนึ่งชั่วโมงหรือใช้งานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ก็ควรหันมาสนใจกับการใช้งานอย่างถูกลักษณะใส่ใจกับสภาพแวดล้อมการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ การวางตำแหน่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การนั่ง การใช้คีย์บอร์ดและเมาส์อย่างถูกวิธี เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหากใช้งานไปสักระยะหนึ่งและเกิดความเมื่อยล้า ควรพักสายตา หรือยืดเส้นยืดสายด้วยการขยับหรือสะบัดนิ้วมือ แขน พักดื่มน้ำ หรือเดินเลนสักพักหนึ่งก็จะทำให้รู้สึกดีขึ้น สำหรับแนวทางการใช้งานอย่างถูกสุขลักษณะ สามารถพิจารณาจากตัวอย่างต่อไปนี้

1. การปรับคีย์บอร์ดและเมาส์

การทำงานกับคอมพิวเตอร์นานจะมีปัญหาเกี่ยวกับแขน ข้อมือ และมือ โดยมีคำแนะนำ เพื่อการทำงานที่สะดวกสบายขึ้น


- ปรับความสูงของคีย์บอร์ด เพื่อให้หัวไหล่ได้พัก แขนแนบลำตัว คีย์บอร์ดอยู่ตรงหน้าไม่เอียงซ้ายหรือขวา

- คีย์บอร์ดควรอยู่ใกล้กับผู้ใช้เพื่อที่จะไม่ต้องเอื้อมือ

- ข้อศอกควรได้ฉาก 90 องศา แขนส่วนปลายจะขนานกับพื้น

- เมาส์ควรวางข้างคีย์บอร์ด

- ขณะที่ไม่ได้ทำงานควรพักแขนไว้บนท้องไม่ควรพักแขนไว้บนคีย์บอร์ด หรือเมาส์


2. การตั้ง Desktops


- โต๊ะที่วางคอมพิวเตอร์ ควรจะสูง 18-28 นิ้ว ขึ้นกับส่วนสูงของผู้ใช้

- ปรับเก้าอี้ให้แขนขนานกับพื้นขณะทำงานและแขนควรอยู่สูงจากต้นขา 2 นิ้ว

- ใต้โต๊ะควรเป็นพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อยืดเท้า

- ของที่ใช้บ่อยควรอยู่ใกล้มือ

- ถ้าใช้ที่หนีบกระดาษควรอยู่ระดับเดียวกับจอภาพ


4. การจัดแสงสว่าง

การจัดแสงสว่างที่ถูกต้อง จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และสะดวกสบาย สภาพของแสงควรเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่เป็นประจำ ในกรณีที่ต้องทำงานหน้าเครื่องประจำ สภาพของแสงควรมีลักษณะดังนี้

- ควรใช้ผ้าม่านปิดหน้าต่างๆ เพื่อควบคุมปริมาณแสงในห้อง

- ให้แสงจากหน้าต่างเข้าทางข้าง และจัดวางให้อยู่ระหว่างแถวไฟของเพดาน เพื่อป้องกันการสะท้อนของแสง

- จอไม่ควรได้รับแสงโดยตรงเพราะจะทำให้เกิดการสะท้อนของแสงหรืออาจจะใส่แผ่นกรองแสง

- ขอบบนของจอภาพ ควรอยู่ระดับเดียวกับตา

- ควรทำงานภายใต้แสงไฟทั่วไป และไฟสำหรับทำงานโดยเฉพาะ แสงที่ใช้ไม่ควรเกิน 18-46 แรงเทียน

- แสงควรเข้าทางด้านข้าง เพื่อป้องกันการสะท้อนของแสง

- วางจอภาพโดยหันด้านข้างของจอไปหาหน้าต่าง

- ไม่ควรใช้โคมไฟ

- ผนังด้านหลังจอภาพควรทาสีทึบเพื่อป้องกันสะท้อนของแสง

- ใช้แผ่นกันการสะท้อนของแสง

- ไม่ควรให้มีแสงไปตกกระทบโดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดจุดสว่างบนจอภาพ


5. การปรับเก้าอี้

การนั่งนานๆ จะทำให้กระดูกหลัง หมอนรองกระดูกได้รับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา นอกจากหลังแล้วยังมีผลต่อเท้า เนื่องจากเลือดจะไปกองที่เท้า ข้อแนะนำนี้จะช่วยให้ทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างสบาย


- อย่าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ

- เปลี่ยนท่านั่นและยืนสลับกัน

- ปรับเบาะพิงหลังให้รองบริเวณเอวอาจจะใช้หมอนหรือผ้าหนุนด้วยก็ได้ ท่านั่งที่ดีควรจะเป็นท่าที่ขาตั้งฉากกับลำตัว

- ปรับความสูงของเก้าอี้เพื่อให้เท้าวางบนพื้น

- นั่งหลังพิงพนักพิง

- ต้นขาขนานกับพื้น เข่าอยู่แนวระนาบเดียวกับข้อสะโพก

- เข้าควรอยู่ห่างจากเบาะ 2-3 นิ้ว

- อย่านั่งหลังโก่ง

- ปรับความสูงของที่พักแขนให้แขนและไหล่ได้พักขณะทำงาน


6. การวาง และเคลื่อนไหวมือ แขน

ขณะที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน การเคลื่อนไหวมือและแขนอย่างสบายๆ เป็นธรรมชาติ จะช่วยป้องกันการเมื่อยล้าของมือ และแขน และควรปฏิบัติตามคำแนะนำในขณะที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์


- เมื่อพิมพ์ข้อความควรให้ปลายแขน และข้อมืออยู่ในระดับเดียวกันและขนานกับพื้น

- วางข้อศอกในท่าที่สบายๆ ข้างลำตัว อาจแนบข้อศอกชิดลำตัว แต่ระวังอย่าชิดมากเกินไปจนข้อศอกกดไปที่ลำตัว

- ขณะที่แป้นพิมพ์ เมาส์ หรืออุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่นๆ ควรให้ข้อมืออยู่ในท่าตามธรรมชาติ ไม่ควรโค้งงอ หรือหักข้อมือ

- หากมีที่พักมือ ควรใช้เพื่อการพักมือเท่านั้น ไม่ควรวางมือบนที่พัก หรือบนโต๊ะขณะกำลังพิมพ์

- ปรับให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ อยู่ในท่าที่ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ

- ใช้แรงให้น้อยที่สุดในการกดแป้นพิมพ์ หลีกเลี่ยงการกระแทกนิ้วลงบนแป้นพิมพ์แรงๆ จับเมาส์หลวมๆ อย่าจับแน่นเกินไป

- ใช้แรงจากแขนในการเลื่อนเมาส์

 

 21460
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์