ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.....คือ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.....คือ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

 

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา? 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  • บุคคลธรรมดา

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

     

    สำหรับผู้ที่มีเงินได้เฉพาะเงินเดือน หรือมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ต้องใช้แบบ ภงด. 91 ในการยื่นภาษี โดยตามกฎหมายให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือ คนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ ต้องยื่นแบบเงินได้พึงประเมิน ถ้าบุคคลนั้นมีเงินได้เฉพาะเงินเดือน เกิน 50,000 บาทต่อปีขึ้นไป (แม้รายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบ)

    โดยเกณฑ์เงินได้พึงประเมินที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือต้องมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท หรือ 240,000 บาทต่อปี เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่าย 60,000 บาท และหักลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงที่ไม่ต้องเสียภาษี 

    แต่หากใครมีส่วนลดหย่อน เช่นดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน ประกันชีวิต ฯลฯ ก็จะทำให้ฐานเงินเดือนเฉลี่ยต่อเดือนที่ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น นำดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน 50,000 มาเป็นค่าลดหย่อน จะทำให้ต้องมีเงินเดือนสูงกว่า 21,700 บาท ถึงจะเสียภาษีเป็นต้น 

 3104
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์